ยูดี ทาวน์ อุดรธานี- ปรับตัว สู่ New Fresh New Look
หลังวิกฤตโควิด-19 ผู้ประกอบการธุรกิจต่างปรับตัวสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะธุรกิจที่เป็นศูนย์กลางที่รวมผู้คนจำนวนมากมาใช้ชีวิตสังสรรค์อยู่รวมกัน เช่น ธุรกิจห้างสรรพสินค้าหลายแห่งนอกจากต้องปรับตัวรับกับมาตรการด้านสาธารณสุขแล้ว ขณะเดียวกันต้องพยายามสร้างสีสันให้สดใส หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 มาได้ ดังเช่น “ธนกร วีรชาติยานุกุล” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุดรพลาซ่า จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ อุดรธานี พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ใช้เวลาช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในการรีโนเวตพื้นที่ภายในศูนย์การค้า ภายใต้คอนเซ็ปต์ New Fresh New Look ตั้งแต่โซนอาหาร UD Town Food Center จนถึงบริเวณลานกิจกรรมซอย 1
ประเดิมด้วยส่วน “UD Town Food Center” คลุมโทน olive drab สีเขียวมะกอกและสีเทา เป็นสีที่ใช้สื่อถึงธรรมชาติ ซึ่งเป็นแผนโทนปี 2020 ทำให้ดูสะอาดตาขึ้น และมีการผสมผสานโดยการนำเอาอุปกรณ์จำพวกเครื่องจักสาน อาทิ สุ่มไก่ โคมไฟจักสาน จากชาวบ้าน และนำเอาไหลายบ้านเชียง ชามสังกะสีโบราณ เป็นต้น มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตกแต่ง ด้วยรูปทรงที่แสนจะคุ้นเคยและเป็นเอกลักษณ์ เพื่อเพิ่มบรรยากาศความเป็นอีสานโมเดิร์นที่ทันสมัย บนพื้นที่กว้างขวาง อากาศถ่ายเท สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีมาตรฐานการซื้อขายที่สะดวก รวดเร็ว
ภายใน UD Town Food Center ได้รวบรวมร้านอาหารที่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย Street Food อาหารท้องถิ่น ทั้งใน จ.อุดรธานี และทั้งประเทศ รวมถึงอาหารทะเลสดใหม่ เหมือนยกทะเลมาไว้ที่อีสาน เรียกได้ว่าจัดสำรับคาว-หวาน-เครื่องดื่มจากร้านดังมาไว้ที่นี่ที่เดียว ใจกลางเมืองอุดรธานี เป็นจุดนัดพบของกลุ่มเพื่อน กลุ่มครอบครัว นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
อีกหนึ่งโซนที่ปรับปรุงโฉมใหม่คือบริเวณลานกิจกรรมซอย 1 ขนาดพื้นที่ 600 ตารางเมตร ได้ออกแบบเพื่อรองรับการจัดกิจกรรมทุกรูปแบบ เหมาะกับทุกฤดูกาล มีหลังคาโดมสูงสำหรับป้องกันฝนและแสงแดด เป็นพื้นที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเท ปลอดโปร่ง โล่ง ซึ่งนับเป็นจุดแข็งของยูดี ทาวน์ อุดรธานี ที่เป็นศูนย์การค้าแบบโอเพ่นแอร์ ไม่ใช้ระบบปรับอากาศ ทำให้ผู้ประกอบการรวมถึงผู้บริโภคมั่นใจในเรื่องของความสะอาด ปลอดภัย ในช่วง New Normal
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ ได้ที่ www.goudtown.com และเฟซบุ๊คเพจ UD TOWN หรือโทร. 042-932-999
แหล่งข่าว: จากเว็ปไซต์: www.prachachat.net/local-economy